วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Port ต่างๆ


Ports

มารู้จักกับพอร์ตต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่รอบๆ Industrial PC หรือ Embedded PC กันครับ เชื่อว่าหลายคนยังไม่ทราบเลยว่าพอร์ตต่างๆ มีหน้าที่ไว้ทำอะไร ซึ่งจำเป็นมากสำหรับคนที่กำลังหา Industrial PC หรือ Embedded PC เครื่องใหม่เพราะจะได้ทราบว่าอุปกรณ์ที่เรามีอยู่นั้น ใช้กับ Industrial PC หรือ Embedded PC ตัวที่เรากำลังจะซื้อมาใช้ได้หรือไม่ มาทำความรู้จักกับพอร์ต่างๆ กันเลยครับ



Picture
Picture
Serial Port or COM Port  (พอร์ตอนุกรม) 
พอร์ตอนุกรมหรือเรียกอีกอย่างว่า COM Port (Communication Port) ลักษณะจะเป็นพอร์ตตัวผู้มีขาสัญญาณ 9 ขา มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 0.1 Mbps ลักษณะการงานของพอร์ตอนุกรมนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ เช่น โมเด็ม เมาส์ เป็นต้น มีความเสถียรมากกว่าพอร์ต USB เหมาะสำหรับนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม


RS-232 : เป็นการสื่อสารแบบ Full Duplex ระยะสายไม่เกิน 15 m
                  และสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้ 1:1 เท่านั้น
RS-422 : เป็นการสื่อสารแบบ Full Duplex ระยะสายจะอยู่ที่ประมาณ 1.96 km และสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้ 1:1 เท่านั้น
RS-485 : เป็นการสื่อสารแบบ Half Duplex ระยะสายจะอยู่ที่ประมาณ 1.96 kmและสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้ประมาณ 256 ตัวต่อหนึ่ง Loop   

Picture
Parallel Port  (พอร์ตขนาน)
พอร์ตขนานเป็นพอร์ตรุ่นเก่า มักใช้ในการเชื่อต่อกับเครื่องปรินเตอร์ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า พอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port) เช่นเดียวกันกับพอร์ตอนุกรม อุปกรณ์ต่างๆ หันไปใช้การเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB ที่มีความเร็วการรับส่งข้อมูลมากกว่า ดังนั้นในปัจจุบันจึงไม่พบพอร์ตขนาดนี้ใน Embedded PC สักเท่าไหร่

Picture
PS/2 Portเป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับเมาส์หรือคียบอร์ดภายนอก เนื่องจากคียบอร์ดในตัวของ Panel PC ไม่สะดวกเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ซึ่งทำให้ใช้งานไม่คล่องตัว และการใช้ Touch Screen ของ Panel PC ก็สะดวกสู้การใช้เมาส์ไม่ได้ แต่ในปัจจุบันคีย์บอร์ดและเมาส์ที่มีการเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB มีขายมากมายตามท้องตลาด ดังนั้นปัจจุบันจึงไม่พบพอร์ตชนิดนี้สักเท่าไร

Picture
USB Portเป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีความจำเป็นกับการงานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ภายนอกหลายๆชนิดนิยมใช้พอร์ตนี้ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือตัว Embedded PC ตัวอย่างของอุปกรณืที่ใช้พอร์ต USB ได้แก่ เครื่องปรินท์เตอร์ เมาส์ อุปกรณ์เก็บข้อมูลและกล้องดิจิตอล เป็นต้น ความเร็วของการรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ต USB ถ้าเป็น USB 1.1 จะมีความเร็วอยู่ที่ 12 Mbps แต่ถ้าเป็นพอร์ตแบบ USB 2.0 แล้วจะมีความเร็วการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 480 Mbps

Picture
Firewire PortFirewire หรือที่นิยมเรียกกันว่า IEEE 1394 เป็น Port มีลักษณะดังในภาพ คล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรืออีกรูปแบบนึงซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า ใช้โอนถ่ายข้อมูลเป็นหลักคล้ายๆกับ USB โดยมีความเร็วอยู่ที่ 400 MB/s อาจจะดูด้อยกว่า USB 2.0 เล็กน้อยแต่ก็แลกมาด้วยความนิ่งของสัญญาณที่ไม่แกว่งเหมือน USB นิยมใช้ในกล้องวีดีโอความละเอียดสูง แต่อีกไม่นานเมื่อ USB เข่าสู่เวอร์ชั่น 3 เมื่อไรพอร์ตนี้คงจะเริ่มหายจากไปเหลือเพียงใช้งานในบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนใหญ่ Port Firewire ส่วนใหญ่จะใช้กับกล้อง VDO CamCoders เป็นหลัก ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว

Picture
LAN Port  (พอร์ต RJ45)
RJ-45 เป็นคอนเน็ตเตอร์ในการเชื่อมต่อสู่ระบบเครือข่ายซึ่งเป็นที่นิยมสูงมาก ทั้งบ้านเรือน จนถึงระดับองค์กรณ์ใหญ่ๆ ด้วยความเร็วสูงที่การเชื่อมต่อรูปแบบอื่นๆ ด้วยความเร็วตั้งแต่ 10,100 MB/s จนไปถึงระดับ 1 GB/s (1,000 MB/s) ใน Embedded PC รุ่นใหม่ๆ ก็อยู่ในระดับ 1 GB/s แทบทั้งนั้นเลย ด้วยความเร็วสูงขนาดนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและยังเป็นที่นิยมต่อไป อีกนาครับ

Picture
Modem Port  (พอร์ต RJ11)
เป็นพอร์ตที่มีลักษณะคล้ายกับพอร์ต RJ45 แต่จะมีขนาดเล็กกว่า เนื่องจากตัวพอร์ต RJ11 มีเพียง 4 ขา ขณะที่ พอร์ต RJ45 มีจำนวนขา 8 ขา สำหรับหน้าที่ของพอร์ต RJ11 นั้นไว้สำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็มผ่านทางสายโทรศัพท์ที่มีการเข้าหัวแบบ RJ11

Picture
 S-Video Port  (พอร์ต TV-Out)
เป็นพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับสาย S-Video เพื่อให้แสดงผลภาพจาก  PC เพื่อไปปรากฏบนจอโทรทัศน์

Picture
VGA Port or D-SUBVGA port เป็น Port ที่ส่งสัญญาณภาพเข้าสู่อุปกรณ์แสดงภาพภายนอกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถึงแม้คุณภาพของภาพที่เป็นระบบสัญญาณอนาล็อกจะด้อยกว่า DVI แต่ด้วยมีอุปกรณ์รองรับมากที่สุดทำให้เป็นพอร์ตสำหรับต่อแสดงผลที่ได้รับ ความนิยมสูงสุด (แต่ในอนาคตคาดว่า HDMI จะมาแทนในไม่ช้า) รองรับทั้งจอแบบ LCD CRT รวมถึงเครื่องโปรเจ็คเตอร์ด้วย

Picture
DVI Port
เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับจอ LCD หรือเครื่องโปรเจ็คเตอร์ที่อยู่ภายนอก โดยมีการรับส่งข้อมูลแบบดิจิตอล จึงทำให้ไม่ต้องมีการแปลงข้อมูลจากอนาล๊อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง ส่งผลให้คุณภาพของการแสดงผลที่ได้จะมีประสิทธิภาพที่ดีและรวดเร็ว สำหรับพอร์ต DVI จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ DVI-I ที่รองรับทั้งสัญญาณแบบดิจิตอลและอนาล็อก และแบบ DVI-D ที่รองรับได้เพียงสัญญาณดิจิตอลเท่านั้น

Picture
HDMI Port   HDMI หรือ ย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface ตามที่ชื่อบอกเลยครับว่ารองรับงานมัลติมีเดียได้อย่างเต็มที่ ด้วย Port ที่เชื่อมต่อกับเครื่องเล่น HDMI ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวก LCD TV หรือ เครื่องเสียง โดยในสาย HDMI จะรวบรวมสัญญาณดิจิตอลทั้งภาพและเสียงที่ส่งไปในสาย HDMI เส้นเดียว ทำให้มีความสะดวกเพราะไม่ต้องต่อสายหลายสายให้วุ่นวาย  โดยสาย HDMI รองรับการส่งข้อมูลสูงสุดประมาณภาพยนตร์ HD 1080p เลยทีเดียว

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานสินค้า CE, FCC, UL, RoHs


มาตรฐานสินค้า CE, FCC, UL, RoHs




CE มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ “European Conformity” เดิมทีใช้เครื่องหมาย EC แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นเครื่องหมาย CE อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2536 เครื่องหมาย CE ที่ปรากฏอยู่บนสินค้า เป็นเครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) ว่าสินค้านั้น มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป การมีเครื่องหมาย CE กำกับบนสินค้าจะทำให้สินค้านั้นสามารถวางจำหน่าย และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในเขตเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Area (EEA) ยกเว้นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสมาชิกแต่ละประเทศจะดำเนินการออกกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป หรือ EC Directives ที่ เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมาย CE





FCC ย่อมาจาก Federal Communications Commission (คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร) องค์กรนี้เป็นตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ที่วางระเบียบให้แก่อุปกรณ์ประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ให้บริการการสื่อสารระหว่างรัฐ และงานให้บริการระหว่างประเทศที่อยู่ในสหรัฐฯ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ที่ผลิตสัญญาณความถี่วิทยุ ซึ่งจะไปรบกวนการส่งกระจายทางธุรกิจ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต้องได้รับการรับรองจาก FCC ก่อนที่จะนำไปขายในสหรัฐฯ เพื่อให้ตรงกับข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับการเป็นตัวนำและการกระจายคลื่นวิทยุ FCC จะแบ่งเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น 2 ประเภท คือ Class A (ใช้ในงานอุตสาหกรรมหรือด้านธุรกิจ) และ Class B (ใช้งานในบ้าน)



UL ห้องปฏิบัติการที่รับประกัน หรือ Underwriters' Laboratories Inc. เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร และรับรองความปลอดภัยของสินค้า ได้เริ่มทดสอบสินค้าและเขียนมาตรฐานความปลอดภัยกว่า 100 ปีตั้งแต่ปี 1894
UL ได้ประเมินสินค้า, ชิ้นส่วน, วัสดุ และระบบ โดยมีมาตรฐานไม่น้อยกว่า 1200 มาตรฐาน ภารกิจของ UL คือการสนับสนุนให้มีความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยโดยการใช้วิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยและวิศวกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งครอบคุม ผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือป้องกันอัคคีภัย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยาง สายไฟฟ้า พลาสติก ซึ่งมีศูนย์ตรวจสอบ 127 แห่ง , มีห้องปฏิบัติการ 66 แห่ง , อุปกรณ์ในการทดสอบและรับรอง และเจ้าหน้าที่จำนวน 6,200 คน




RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี2006 แต่ในประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ก็เริ่มที่จะกำหนดข้อบังคับในลักษณะนี้เช่นกัน ในอนาคต ข้อกำหนดนี้ก็คงจะแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก โดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้

1.ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
2.ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
3.แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
4.เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
5.โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
6.โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก

แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางอย่าง ที่ยังไม่สามารถใช้สารอื่นมาทดแทนได้ หรือสารที่ใช้ทดแทน มีอันตรายมากกว่า เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ตะกั่วในเหล็กอัลลอย นอกจากนี้ เครื่องมือด้านการแพทย์ และการทหาร ก็อยู่ในข้อยกเว้น


เลือกใช้อุปกรณ์ Pb-Free
สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นผู้ออกแบบวงจร สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free หรือ RoHS ได้ โดยผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกยี่ห้อ มักจะผลิตอุปกรณ์รุ่นที่เป็น Pb-Free ออกมาทดแทนอุปกรณ์รุ่นเก่า โดยอาจจะเพิ่มตัวอักษรเช่น ‘G’ เข้าไปใน Part Number แต่ยังคงมีมีฟังก์ชันการทำงานเหมือนกัน สามารถใช้แทนกันได้ สิ่งที่แตกต่างจากเดิมก็คือ อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถทนความร้อนสูงที่ใช้ในการะบวนการประกอบแผงวงจรได้ เนื่องจากสารที่ใช้เชื่อม (ตะกั่ว) ที่เป็นแบบ Pb-Free นี้ จะมีจุดหลอมเหลวที่สูงขึ้นกว่าแบบที่ไม่เป็น Pb-Free แต่สำหรับท่านที่ซื้ออุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free มาแล้ว แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่านข้อกำหนดดังกล่าว สามารถบัดกรีด้วยตะกั่วแบบธรรมดาได้ ซึ่งจะบัดกรีง่าย และสวยงามกว่า เนื่องจากตะกั่วธรรมดาจะละลายง่าย และมีความเงางามมากกว่าตะกั่วแบบ Pb-Free



วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตารางแปลงค่า dBm to Watts

การแปลงค่ามิลลิวัตต์เป็น dBm และการแปลงค่า dBm เป็นมิลลิวัตต์

หน่วยของกำลังส่งของอุปกรณ์จะมีทั้งมิลลิวัตต์ (mW) และ dBm การแปลงค่ามิลลิวัตต์เป็น dBm และการแปลงค่า dBm เป็นมิลลิวัตต์ เพื่อทำให้ทราบระยะทางที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้ง Wireless Network ซึ่งโดยส่วนใหญ่ Access Point จะมีกำลังส่งเป็นมิลลิวัตต์ และบางครั้งก็มีกำลังส่งเป็น dBm ดังนั้น การแปลงกำลังส่งให้เป็นหน่วยเดียวกัน จะทำให้ทราบและเปรียบเทียบกำลังส่งของอุปกรณ์ได้ 

ส่วนความแตกต่างระหว่าง dBm และ dBi ที่มักมีความเข้าใจสับสนกัน คือ dBi เป็นหน่วยของอัตราขยายของเสาอากาศ (Antenna Gain) ซึ่งยิ่งมีค่า dBi มาก ก็แสดงว่ามีอัตราขยายของเสาอากาศสูง ขณะที่ dBm เป็นหน่วยของกำลังส่ง 


สูตรคำนวณ แปลงมิลลิวัตต์เป็น dBm
dBm = 10 x Log10 (มิลลิวัตต์)
ตัวอย่างเช่น          กำลังส่ง 100 มิลลิวัตต์เป็นกี่ dBm
                        10 x Log10 (100) = 20 dBm
สูตรคำนวณ แปลง dBm เป็นมิลลิวัตต์

มิลลิวัตต์ = 10 dBm x 0.1
ตัวอย่างเช่น          กำลังส่ง 20 dBm เป็นกี่มิลลิวัตต์
                        1020 x 0.1 = 100 มิลลิวัตต์



ตารางแปลง dBm แปลงเป็นหน่วย Watt 

dBm             Watts
0                  1.0 mW
1                  1.3 mW
2                  1.6 mW
3                  2.0 mW
4                  2.5 mW
5                  3.2 mW
6                  4 mW
7                  5 mW
8                  6 mW
9                  8 mW
10                10 mW
11                13 mW
12                16 mW
13                20 mW
14                25 mW
15                32 mW
16                40 mW
17                50 mW
18                63 mW
19                79 mW
20                100 mW
21                126 mW
22                158 mW
23                200 mW
24                250 mW
25                316 mW
26                398 mW
27                500 mW
28                630 mW
29                800 mW
30                1.0 W
31                1.3 W
32                1.6 W
33                2.0 W
34                2.5 W
35                3.2 W
36                4.0 W
37                5.0 W
38                6.3 W
39                8.0 W
40                10 W
41                13 W
42                16 W
43                20 W
44                25 W
45                32 W
46                40 W
47                50 W

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของคำศัพท์ที่ใช้ในระบบ CCTV



ความหมายของคำศัพท์ที่ใช้ในระบบ CCTV
 
   Lux (Illumination)
   A.E.S. (Auto Electronics Shutter)
    A.G.C. (Automatic Gain Control)
    A.T.W. (Auto Tracking White Balance)
    A.W.B. (Auto White Balance)
    B.L.C. (Back Light Compensation)
    Gamma
   INL LL (Internal Line Lock)
   S/N Ratio: Signal to Noise Ratio
    Sync Mode (Synchronous Mode):
   Scanning System