วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Port ต่างๆ


Ports

มารู้จักกับพอร์ตต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่รอบๆ Industrial PC หรือ Embedded PC กันครับ เชื่อว่าหลายคนยังไม่ทราบเลยว่าพอร์ตต่างๆ มีหน้าที่ไว้ทำอะไร ซึ่งจำเป็นมากสำหรับคนที่กำลังหา Industrial PC หรือ Embedded PC เครื่องใหม่เพราะจะได้ทราบว่าอุปกรณ์ที่เรามีอยู่นั้น ใช้กับ Industrial PC หรือ Embedded PC ตัวที่เรากำลังจะซื้อมาใช้ได้หรือไม่ มาทำความรู้จักกับพอร์ต่างๆ กันเลยครับ



Picture
Picture
Serial Port or COM Port  (พอร์ตอนุกรม) 
พอร์ตอนุกรมหรือเรียกอีกอย่างว่า COM Port (Communication Port) ลักษณะจะเป็นพอร์ตตัวผู้มีขาสัญญาณ 9 ขา มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 0.1 Mbps ลักษณะการงานของพอร์ตอนุกรมนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ เช่น โมเด็ม เมาส์ เป็นต้น มีความเสถียรมากกว่าพอร์ต USB เหมาะสำหรับนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม


RS-232 : เป็นการสื่อสารแบบ Full Duplex ระยะสายไม่เกิน 15 m
                  และสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้ 1:1 เท่านั้น
RS-422 : เป็นการสื่อสารแบบ Full Duplex ระยะสายจะอยู่ที่ประมาณ 1.96 km และสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้ 1:1 เท่านั้น
RS-485 : เป็นการสื่อสารแบบ Half Duplex ระยะสายจะอยู่ที่ประมาณ 1.96 kmและสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้ประมาณ 256 ตัวต่อหนึ่ง Loop   

Picture
Parallel Port  (พอร์ตขนาน)
พอร์ตขนานเป็นพอร์ตรุ่นเก่า มักใช้ในการเชื่อต่อกับเครื่องปรินเตอร์ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า พอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port) เช่นเดียวกันกับพอร์ตอนุกรม อุปกรณ์ต่างๆ หันไปใช้การเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB ที่มีความเร็วการรับส่งข้อมูลมากกว่า ดังนั้นในปัจจุบันจึงไม่พบพอร์ตขนาดนี้ใน Embedded PC สักเท่าไหร่

Picture
PS/2 Portเป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับเมาส์หรือคียบอร์ดภายนอก เนื่องจากคียบอร์ดในตัวของ Panel PC ไม่สะดวกเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ซึ่งทำให้ใช้งานไม่คล่องตัว และการใช้ Touch Screen ของ Panel PC ก็สะดวกสู้การใช้เมาส์ไม่ได้ แต่ในปัจจุบันคีย์บอร์ดและเมาส์ที่มีการเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB มีขายมากมายตามท้องตลาด ดังนั้นปัจจุบันจึงไม่พบพอร์ตชนิดนี้สักเท่าไร

Picture
USB Portเป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีความจำเป็นกับการงานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ภายนอกหลายๆชนิดนิยมใช้พอร์ตนี้ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือตัว Embedded PC ตัวอย่างของอุปกรณืที่ใช้พอร์ต USB ได้แก่ เครื่องปรินท์เตอร์ เมาส์ อุปกรณ์เก็บข้อมูลและกล้องดิจิตอล เป็นต้น ความเร็วของการรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ต USB ถ้าเป็น USB 1.1 จะมีความเร็วอยู่ที่ 12 Mbps แต่ถ้าเป็นพอร์ตแบบ USB 2.0 แล้วจะมีความเร็วการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 480 Mbps

Picture
Firewire PortFirewire หรือที่นิยมเรียกกันว่า IEEE 1394 เป็น Port มีลักษณะดังในภาพ คล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรืออีกรูปแบบนึงซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า ใช้โอนถ่ายข้อมูลเป็นหลักคล้ายๆกับ USB โดยมีความเร็วอยู่ที่ 400 MB/s อาจจะดูด้อยกว่า USB 2.0 เล็กน้อยแต่ก็แลกมาด้วยความนิ่งของสัญญาณที่ไม่แกว่งเหมือน USB นิยมใช้ในกล้องวีดีโอความละเอียดสูง แต่อีกไม่นานเมื่อ USB เข่าสู่เวอร์ชั่น 3 เมื่อไรพอร์ตนี้คงจะเริ่มหายจากไปเหลือเพียงใช้งานในบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนใหญ่ Port Firewire ส่วนใหญ่จะใช้กับกล้อง VDO CamCoders เป็นหลัก ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว

Picture
LAN Port  (พอร์ต RJ45)
RJ-45 เป็นคอนเน็ตเตอร์ในการเชื่อมต่อสู่ระบบเครือข่ายซึ่งเป็นที่นิยมสูงมาก ทั้งบ้านเรือน จนถึงระดับองค์กรณ์ใหญ่ๆ ด้วยความเร็วสูงที่การเชื่อมต่อรูปแบบอื่นๆ ด้วยความเร็วตั้งแต่ 10,100 MB/s จนไปถึงระดับ 1 GB/s (1,000 MB/s) ใน Embedded PC รุ่นใหม่ๆ ก็อยู่ในระดับ 1 GB/s แทบทั้งนั้นเลย ด้วยความเร็วสูงขนาดนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและยังเป็นที่นิยมต่อไป อีกนาครับ

Picture
Modem Port  (พอร์ต RJ11)
เป็นพอร์ตที่มีลักษณะคล้ายกับพอร์ต RJ45 แต่จะมีขนาดเล็กกว่า เนื่องจากตัวพอร์ต RJ11 มีเพียง 4 ขา ขณะที่ พอร์ต RJ45 มีจำนวนขา 8 ขา สำหรับหน้าที่ของพอร์ต RJ11 นั้นไว้สำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็มผ่านทางสายโทรศัพท์ที่มีการเข้าหัวแบบ RJ11

Picture
 S-Video Port  (พอร์ต TV-Out)
เป็นพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับสาย S-Video เพื่อให้แสดงผลภาพจาก  PC เพื่อไปปรากฏบนจอโทรทัศน์

Picture
VGA Port or D-SUBVGA port เป็น Port ที่ส่งสัญญาณภาพเข้าสู่อุปกรณ์แสดงภาพภายนอกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถึงแม้คุณภาพของภาพที่เป็นระบบสัญญาณอนาล็อกจะด้อยกว่า DVI แต่ด้วยมีอุปกรณ์รองรับมากที่สุดทำให้เป็นพอร์ตสำหรับต่อแสดงผลที่ได้รับ ความนิยมสูงสุด (แต่ในอนาคตคาดว่า HDMI จะมาแทนในไม่ช้า) รองรับทั้งจอแบบ LCD CRT รวมถึงเครื่องโปรเจ็คเตอร์ด้วย

Picture
DVI Port
เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับจอ LCD หรือเครื่องโปรเจ็คเตอร์ที่อยู่ภายนอก โดยมีการรับส่งข้อมูลแบบดิจิตอล จึงทำให้ไม่ต้องมีการแปลงข้อมูลจากอนาล๊อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง ส่งผลให้คุณภาพของการแสดงผลที่ได้จะมีประสิทธิภาพที่ดีและรวดเร็ว สำหรับพอร์ต DVI จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ DVI-I ที่รองรับทั้งสัญญาณแบบดิจิตอลและอนาล็อก และแบบ DVI-D ที่รองรับได้เพียงสัญญาณดิจิตอลเท่านั้น

Picture
HDMI Port   HDMI หรือ ย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface ตามที่ชื่อบอกเลยครับว่ารองรับงานมัลติมีเดียได้อย่างเต็มที่ ด้วย Port ที่เชื่อมต่อกับเครื่องเล่น HDMI ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวก LCD TV หรือ เครื่องเสียง โดยในสาย HDMI จะรวบรวมสัญญาณดิจิตอลทั้งภาพและเสียงที่ส่งไปในสาย HDMI เส้นเดียว ทำให้มีความสะดวกเพราะไม่ต้องต่อสายหลายสายให้วุ่นวาย  โดยสาย HDMI รองรับการส่งข้อมูลสูงสุดประมาณภาพยนตร์ HD 1080p เลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น