การติดตั้งระบบ CCTV ไม่ดีอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้
การเลือกซื้อ ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด กับบริษัทฯที่ติดตั้งระบบได้ไม่ดี เพราะโดนลูกค้าต่อรองราคา
สรุปการสั่งซื้อมาในราคาที่ต่ำ หรือ ทีมช่างติดตั้งของบริษัทฯที่ลูกค้าซื้อไม่มีความชำนาญ หรือ ทีมช่างที่
ลูกค้าหามาติดตั้งเองไม่มีความชำนาญ หรือ ทำแบบขอไปที อาจจะทำให้ ระบบกล้องวงจรปิด ที่ไปซื้อมา
แบบยี่ห้อดีๆ และราคาแพงๆ อาจเหลือความคมชัดของกล้องเพียงแค่ครึ่งเดียว หรืออาจไปทำให้อุปกรณ์มี
อายุการใช้งานสั้นกว่าที่ควรจะเป็น และอาจทำให้เป็นต้นเหตุของการเกิดไฟไหม้ ได้อีกด้วย เพราะ ความรู้
เท่าไม่ถึงการในการเลือกใช้ สายไฟ กับ อุปกรณ์จ่ายไฟ และ ความพยายามที่จะลดต้นทุนของ การติดตั้ง
ให้มีต้นทุนต่ำจะได้มีกำไรมากๆ หรือ ความมักง่ายของช่างผู้ติดตั้งระบบเอง ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความ
เสียหายรุนแรงต่อไปในการใช้งาน ดังรายละเอียดตามข้อต่างๆข้างล่างนี้
1. การเลือก สายนำสัญญาณส่งภาพ จากตัวกล้องไปต่อถึงยัง เครื่องบันทึกภาพ ควรจะเลือกใช้ สายแบบ
สาย Coaxial RG59 , Coaxial RG6 , Coaxial RG11 , UTP, Fiber Optic เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการ
ติดตั้งจากตัวกล้อง ถึงเครื่องบันทึกภาพ ที่ระยะไม่ไกล 185 เมตร ช่างติดตั้งส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณ
แบบสาย Coaxial RG6 Shield 95% ราคาจะอยู่ที่ 18 – 25 บาท ต่อ เมตร แต่บริษัทฯที่ไปลดต้นทุน
และช่างติดตั้งที่ลดต้นทุน หรือ รู้ไม่จริง ก็จะไปใช้สายอากาศทีวี หรือ สายเคเบิลทีวี ราคาเมตรละ 5 – 8
บาท ซึ่งสายประเภทนี้เมื่อนำมาต่อกับ ระบบกล้องวงจรปิด จะทำให้สัญญาณภาพสูญเสียในสายมาก
- สาย Coaxial RG6 เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนสายยาง โดยจะ
มีลวดถักหุ้มฉนวนสายยางอีกชั้น (Shield 95%) ป้องกันสัญญาณรบกวน และมีฉนวนด้านนอก
เป็นยาง สีดำหุ้มอีกชั้น
- สายอากาศทีวี หรือ สายเคเบิลทีวี เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนสาย
ยาง โดยจะมีลวดถักเป็นเส้นฝอยละเอียดถักหลวมๆ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ไม่ค่อยดี และ ไม่
สามารถติดตั้งได้ในระยะทางไกลๆ ทำให้มีราคาถูกกว่า สาย RG6
สถานที่ต่างๆ หรือ บ้านราคาแพงๆ ที่มีการ Build-in เฟอร์นิเจอร์ ไปแล้ว และ ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด
ไปแล้ว โดยถูกบริษัทฯ หรือ ช่างติดตั้ง เอาสายคุณภาพต่ำมาติดตั้งให้ จะไม่สามารถเปลี่ยนรื้อเอาสายที่
มีคุณภาพต่ำออกไปได้ง่ายๆ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสูงมากๆ เพราะต้องรื้อเฟอร์นิเจอร์ออก
และเสียค่าเดินสายดีๆใหม่เข้าไปแทนที่สายคุณภาพต่ำทั้งหมด
2. หากผู้ซื้อระบบกล้องวงจรปิด ให้ช่างเดินสายไฟฟ้า หรือบริษัทฯที่ไม่มีความรู้ความชำนาญในการติดตั้ง
ระบบกล้องวงจรปิด เป็นผู้ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดให้ก็อาจเกิดปัญหาได้ คือ ช่างเดินสายไฟฟ้าบางคน
ไม่มีความรู้จริงในเรื่องการเดินสายไฟเลี้ยงของ ระบบกล้องวงจรปิด ซึ่งตัวกล้องส่วนใหญ่ จะใช้กระแส
ไฟฟ้าแบบ 12 โวล์ต ในการทำงาน จึงต้องใช้ หม้อแปลงไฟฟ้า แปลงไฟฟ้าจาก 220 โวล์ต แปลงเป็น
12 โวล์ต ทำให้เวลาติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด ผู้ติดตั้งระบบต้องรู้ก่อนว่าจะไปติดตั้ง หม้อแปลงไฟ ไว้ที่
ใด ถ้านำ หม้อแปลงไฟ ของกล้องทุกตัวมารวมไว้ ที่ส่วนกลาง แล้วเดินสายไฟไปจ่ายไฟเลี้ยงให้ แต่ละ
ตัวกล้อง ซึ่งวิธีนี้จะต้องมีการตัดต่อหัวแจ๊คของสายหม้อแปลงมาต่อกับสายไฟที่ใช้ในการต่อเข้ากับที่ตัว
กล้อง และการเชื่อมต่อสายนี้เองอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ เช่น ใช้สายโทรศัพท์มาเดินเป็นสายไฟ
เลี้ยงเชื่อมต่อกับสายแจ็ค แล้วใช้เทปพันสายไฟพัน ซึ่งไม่นานกาวของเทปก็เสื่อมทำให้เทปหลุดออกได้
ส่วนสายโทรศัพท์ก็อาจจะหักใน หรือถูกแมลงสาป หรือหนูกัดได้ คุณภาพของสายก็ไม่เหมาะจะนำมาใช้
ในการเดินสายไฟเลี้ยงตัวกล้อง ส่วนอีกทางเลือก คือ เดินสายไฟจากส่วนกลางแบบจ่ายไฟ 220 โวล์ต
ไปต่อกับปลั๊กไฟติดไว้ใกล้ตำแหน่งติดตั้งกล้องทุกๆตัว เพื่อต่อกับหม้อแปลงไฟ จ่ายไฟเลี้ยงให้ตัวกล้อง
วิธีนี้ควรระวังเรื่องของสายไฟที่ใช้ในการเดินไฟ 220 โวล์ต ไปต่อเข้าปลั๊ก ควรใช้สายที่ดีและได้ขนาด
หากไปติดตั้งปลั๊ก อยู่ภายนอกสถานที่ควรดูด้วยว่าโดนฝนสาด หรือไม่หากโดนสาดแน่ๆ ก็ให้ใส่ปลั๊กไฟ
ในกล่องบล็อกพลาสติกกันน้ำด้วย ฝนจะได้ไม่สาด ปลั๊กไฟเวลาต่อกับหม้อแปลง จ่ายไฟเลี้ยงตัวกล้อง
และช่างบางคนไม่รู้ว่า 2 ทาง เลือกนี้แตกต่างกันอย่างไร และบางคนคิดว่าสายโทรศัพท์ หรือสายไฟฟ้า
220 โวล์ต ที่เตรียมไว้นำมาใช้กับไฟฟ้าเพียงแค่ 12 โวล์ต คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะมีโวล์ตที่ต่ำคงไม่
อันตรายมาก โดยไม่รู้ว่าโวล์ตที่ต่ำ จะทำให้กระแสไหลเพิ่มขึ้นถึง 18 เท่า ถ้าสายเตรียมไว้เล็กไป หรือ
มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน อาจทำให้เกิดความร้อนมากจนฉนวนละลายจนทำให้เกิด ไฟชอร์ต หรือ เกิด
ไฟไหม้ได้
3. สถานที่ต่างๆ หรือ บ้านที่ราคาแพงๆ ที่มีฝ้าเพดานแบบปิดตาย ไม่สามารถเดินสายไฟไปต่อกับ ปลั๊กไฟ
เพื่อต่อ หม้อแปลงไฟ จ่ายไฟเลี้ยงตัวกล้องไปใส่แอบเก็บไว้ ใต้ฝ้าเพดาน ได้ หากจะติดไว้กับฝ้าเพดาน
ก็ไม่สวย จึงต้องใช้ ตู้หม้อแปลง รวมขนาดใหญ่จ่ายไฟฟ้า 12 โวล์ตไปเลี้ยงตัวกล้องทุกตัว ถ้าตัวกล้อง
บางตัวติดตั้งอยู่ไกลมากๆ แรงดันไฟฟ้าปลายทางอาจจะตกไม่ถึง 12 โวล์ต จึงต้องไปปรับ ตู้หม้อแปลง
รวมให้จ่ายไฟที่โวล์ตสูงขึ้น อาจจะต้องปรับไปถึง 16 - 17 โวล์ต อันเป็นผลทำให้ ตัวกล้อง ที่อยู่ใกล้ๆ
ทั้งหมด รับกระแสไฟฟ้าที่ีสูงเกินไปมาก จนอาจทำให้ ตัวกล้องเสียได้ หรือ อายุการใช้งานจะสั้นเร็วกว่า
ที่ควรจะเป็น หรือ ในกรณีที่ ตู้หม้อแปลงรวม การเดินสายโดยไม่คิด Load Balance เช่น สายเมนเส้น
หนึ่ง ไปจ่ายไฟเลี้ยงให้กับตัวกล้อง 3 กล้อง และสายเมนอีกเส้นกลับไปจ่ายไฟเลี้ยงให้ตัวกล้อง มากถึง
13 กล้อง ก็จะทำให้เกิดปัญหา Load Balance มีกระแสสูงได้เช่นกัน
4. การเดินสายสัญญาณภาพ ใน โรงงาน ที่มีมอเตอร์เต็มโรงงาน ซึ่งจะมี สนามมารดาเหล็กมากมาย มารบกวน
สัญญาณภาพได้ง่ายๆ จึงต้องใช้ อุปกรณ์เสริมมาแปลงสัญญาณภาพให้เป็น ดิจิตอล แล้วค่อยส่งผ่านเข้า
ไปในโรงงาน แล้วจึงค่อยแปลงสัญญาณดิจิตอล กลับไปเป็นสัญญาณภาพ เพื่อต่อเข้าเครื่องบันทึกภาพ
จึงจะได้ภาพที่ชัดเจนจากตัวกล้องวงจรปิด ที่ต้องเดินในโรงงาน ที่มีสนามมารดาเหล็กมาก หรือ เปลี่ยนจาก
สายสัญญาณ RG6 ไปใช้สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือ สาย CAT (Category)
แทนก็จะช่วยในการถูกรบกวนจากสนามมารดาเหล็กได้ แต่ช่างไฟฟ้าที่รับติดตั้งบางราย หรือ บริษัทฯติดตั้ง
ที่ไม่มีประสบการณ์ ส่วนใหญ่ก็จะไม่ทราบเรื่องสนามมารดาเหล็ก สามารถรบกวนระบบสายสัญญาณ RG6
กับสาย RG11 ได้ก็ยังคงดันทุรังติดตั้งให้กับลูกค้า และ อีกประเภทของการถูกรบกวนทำให้ สัญญาณ
ภาพ จากตัวกล้องที่เดินไปต่อถึงเครื่องบันทึกภาพไม่ชัด และมีคลื่นวิ่งรบกวนประจำ ก็คือการที่เดินสาย
นำสัญญาณภาพ และ สายไฟเลี้ยงตัวกล้อง ร้อยใส่ไปในท่อเเดียวกันแล้วไปเดินคู่ กับท่อที่มีกระแสไฟ
วิ่งไหลผ่านสูงมาก ซึ่งเป็นเหตุให้สัญญาณภาพตามสายถูกรบกวน วิธีแก้ไขก็เพียงให้ย้ายท่อเดินลมงจาก
ท่อไฟแรงสูงปัญหานี้ก็จะหายไป
5. ระยะทางการติดตั้ง ตัวกล้อง ที่ลมงจากเครื่องบันทึกภาพ เกินกว่า 1 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 2 กิโลเมตร
ช่างส่วนใหญ่ และ บริษัทฯรับติดตั้งส่วนใหญ่ที่ไม่มีประสบการณ์ จะคิดว่าต้องเดินสาย Fiber Optic
เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะใช้ในระยะทางนี้ได้ ซึ่งสาย Fiber Optic นี้จะมีราคาแพงมากๆ ทำให้
จะมีค่าใช้จ่ายสูงหากลูกค้าตกลงสรุปซื้อและให้ติดตั้งด้วยสาย Fiber Optic แต่ในเทคโนโลยีล่าสุด
ของการแปลงสัญญาณให้เป็น ดิจิตอล จึงสามารถใช้สาย UTP (สาย LAN CAT5) แบบ 4 เส้นเดิน
ไปต่อ อุปกรณ์ Converter ซึ่งสามารถส่งภาพไปได้ไกลถึง 2.4 กิโลเมตร และแปลงจากภาพที่เป็น
ดิจิตอลกลับไปเป็นสัญญาณภาพเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้ภาพที่ชัดเจน และยังสามารถป้องคลื่นของ
สนามมารดาเหล็กมารบกวนได้เป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดงบประมาณในการติดตั้งได้เป็นเงินจำนวนมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น